โปรแกรมบัญชี ที่ใช้งานดีที่สุดในประเทศ
Formula / Winning
ทำงานรวดเร็ว เสถียร ยืดหยุ่น ปลอดภัย
ใช้กันแพร่หลายทั่วประเทศ
โปรแกรม FORMA ERP
คุณภาพระดับสากล
World-class Software
FORMA ERP
Previous
Next

วางแผนเพื่อ ERP Implementation

“หากมีการต่อต้านเกิดขึ้น โอกาสที่โครงการอิมพลีเมนต์ ERP จะประสบกับความล้มเหลวเป็นไปได้สูง ดังนั้น ทำอย่างไรที่ผู้บริหารโครงการจะสามรถควบคุม หรือลดแรงต้านเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนอื่น คุณจะต้องเข้าใจว่าคุณกำลังเผชิญหน้าอยู่กับแรงต้านหรือไม่ และมีแรงต้านในเรื่องอะไรบ้าง การที่คุณรู้ถึงระดับของการต่อต้านจะทำให้คุณประเมินสถานการณ์ได้ และจะหาคำตอบได้ว่า ทำอย่างไรจึงจะจัดการแรงต่อต้านนั้นและเปลี่ยนแปลงมาเป็นการสนับสนุน”

     จากบทความของสองเดือนก่อน เราได้มีโอกาสพูดถึงเรื่องของ Business Process Mapping ไปแล้ว สำหรับครั้งนี้ เราจะมาพูดถึงการอิมพลิเมนต์ระบบ ERP จะขอเริ่มจาก 10 ขั้นตอน ในการอิมพลีเมนต์ระบบ ERP ซึ่งได้นำมาจากนาย Derek Slater จาก www.cio.com โดย 10 ขั้นตอน ในการอิมพลีเมนต์ระบบ erp ประกอบด้วย

1. เริ่มจากการของบประมาณ หรือเงินเพื่อใช้ในโครงการการอิมพลีเมนต์ระบบ ERP จากผู้บริหาร
2 เงินที่ได้มาทั้งหมด แบ่งให้กับคอนซัลแตนท์ซักครึ่งหนึ่ง เพื่อที่จะทำการเลือก ระบบ ERP ที่เหมาะกับบริษัท คอนซัลแตนท์อาจจะใช้เวลาประมาณหกเดือน ในการเข้ามาศึกษากระบวนการทำงานของบริษัท
3. จัดตั้งทีมที่ประกอบด้วยคนที่มาจากหลายๆหน่วยงาน และเริ่มการประชุม
4. ปรับปรุงกระบวนการธุรกิจของเรา เพื่อที่จะให้เข้ากันได้กับโมเดลของซอฟท์แวร์
5. ให้เงินส่วนที่เหลือกับคอนซัลแตนท์
6. ลงโปรแกรม ERP
7. จัดทำการอบรมให้กับผู้ใช้งานจริง
8. เริ่มสวดมนต์ และภาวนา (…ขอให้ระบบใช้ได้เถอะเจ้าประคุณ….)
9. เริ่มใช้งานระบบ
10. ถ้าคุณยังทำงานอยู่ในบริษัทให้กลับไปที่ข้อที่ 1 ทันที เพราะว่าถึงเวลาที่จะต้อง Upgrade แล้ว !!!!!!!

     นาย Derek Slater ยังมีหยอดท้ายด้วยอีกว่า 10 ขั้นตอนนี้ สามารถที่จะใช้กับ Supply chain project ด้วยเช่นกัน อันนี้เป็น
การเริ่มบทความฉบับนี้แบบหยอกกันเล่นแบบหอมปากหอมคอ จากการที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณโสภณ สนหอม (ERP Project Implementor ท่านผู้อ่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ sophon@plusmainfotech.com) อิมพลีเมนเตอร์ของบริษัทพลัสมา อินโฟร์เทค จำกัด ผู้ซึ่งคร่ำหวอดอยู่ในวงการอิมพลีเมนต์ระบบ ERP ให้กับบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ บริษัทนำเข้าและ
ส่งออกต่าง ๆ เกี่ยวกับการอิมพลีเมนต์ระบบ ERP ว่าทำอย่างไรจะทำให้โอกาสในการอิมพลีเมนต์ระบบ ERP มีความสำเร็จ คุณโสภณ ได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจไว้หลายข้อทีเดียว

การวางแผนเพื่อที่จะอิมพลีเมนต์ให้ประสบความสำเร็จ มีอยู่ 2 ส่วน คือ
ส่วนแรก : การจัดการกับการเปลี่ยนแปลง
ส่วนที่สอง : โครงสร้างของการอิมพลีเมนต์เอง

ส่วนที่ 1 : เตรียมความพร้อมรับมือก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลง
     ต้องพยายามผลักแรงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงออกไป โครงการอิมพลีเมนต์สามารถล้มเหลวได้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าทีมงาน
จะประกอบไปด้วยคนที่จิตใจคิดดีต่อการทำงาน หรือมีความเชี่ยวชาญและชำนาญในการทำงาน หรือถึงแม้จะมีความ
คิดสร้างสรรค์ที่ดีมาก ๆ แต่สาเหตุที่โครงการล้มเหลวส่วนใหญ่ เน้นหนักไปที่ด้านเทคนิค และมองไปถึงในแง่ทางด้านการเงิน โดยเพิกเฉยต่อสาระที่ไม่ใช่ด้านเทคนิค แต่สิ่งเหล่านี้ สามารถทำให้โครงการเกิดการแตกหักได้ หากปราศจากผู้บริหาร หรือผู้
บริหารไม่สามารถซื้อใจทีมงาน ก็อาจทำให้โครงการนั้นลงหลุมไปก่อนเวลาอันควร และยากแก่การปลุกฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้อีก

     การเข้าใจแรงต่อต้านนั้นคือกุญแจแห่งความสำเร็จ โดยธรรมชาติ ถ้ามีการต่อต้านเกิดขึ้นโอกาสที่โครงการจะประสบกับ
ความล้มเหลวเป็นไปได้สูง ดังนั้น ทำอย่างไรที่ผู้บริหารโครงการจะสามารถควบคุมหรือลดแรงต้านเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนอื่น คุณจะต้องเข้าใจว่าคุณกำลังเผชิญหน้าอยู่กับแรงต้านหรือไม่ และถ้ามี มีแรงต้านในเรื่องอะไรบ้าง คุณต้องพยายาม
พูดคุยกับสมาชิกทุกคนในทีม เพื่อที่จะได้เป็นโอกาสสำหรับค้นหาว่าพวกเขากำลังคิดอะไรเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงที่เราได้เสนอ ลองฟังดูว่าอะไรคือความกลัว อะไรคือความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลง และพยายามค้นหาต่อไปว่าอะไรอยู่เบื้องหลังการต่อต้าน และผลกระทบของมันหนักหนาขนาดไหน การที่คุณรู้ถึงระดับของการต่อต้าน จะทำให้คุณประเมินสถานการณ์ได้ และจะหา
คำตอบได้ว่า ทำอย่างไรจึงจะจัดการแรงต่อต้านนั้นและเปลี่ยนแปลงมาเป็นการสนับสนุน

ในการลดแรงต้าน เราสามารถทำได้ดังนี้

ขั้นที่ 1 :
นำทีมอิมพลีเมนต์ ผู้ใช้งานหลักและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม แล้วเริ่มจาก
– ถามพวกทีมงานว่าบ่อยครั้ง หรือกี่ครั้งที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น ถ้าบุคลากรในทีมเคยทำงานร่วมกันมาก่อน
– ถ้าไม่ค่อยได้ทำงานร่วมกัน ให้ถามว่า โอกาสที่จะมีความขัดแย้งที่เกิดจากการอิมพลีเมนต์ ERP
จุดประสงค์ของการถาม ก็เพื่อว่าจะได้รู้ว่าอะไรบ้างที่เป็นประเด็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิด ขึ้น โดยไม่ควรที่จะมาวิจารณ์กันหรือมาหาว่าใครผิด ใครถูก

ขั้นที่ 2
– แบ่งออกเป็นทีม คลุกเคล้าผสมผสานคนจากต่างหน่วยงาน ให้แต่ละกลุ่มลองหาวิธีการในการที่จะแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยให้คำถามช่วยเช่น ทำอย่างไรจะให้ได้เป้าหมายของบริษัทถ้ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น, อะไรที่จะกำจัดประเด็นหลักๆ ที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง, ทำอย่างไรที่ยังคงทำงานอยู่เหมือนสภาวะปกติถึงจะมีความขัดแย้ง, ทำอย่างไรที่สนับสนุนให้เกิดค่านิยมร่วมกัน

ขั้นที่ 3
– ให้แต่ละกลุ่มรายงานคำตอบของแต่ละคำถาม คำเสนอแนะ

ขั้นที่ 4
– หาข้อสรุปร่วมกันว่าวิธีการหรือกลยุทธ์ไหนควรถูกนำมาใช้เมื่อเจอประเด็นความขัดแย้ง

จะ เห็นได้ว่า การจับเข่าคุยกันตั้งแต่เริ่มต้นการทำงานได้ เราสามารถที่ลดแรงต้านทาน และยังได้วิธีการและข้อตกลงในการจัดการกับประเด็นร้อน ๆ ที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งภายหลังได้

ส่วนที่ 2 โครงสร้างของการอิมพลีเมนต์
     โดยธรรมชาติแล้วลูกค้าต้องการให้การอิมพลีเมนต์สำเร็จอย่างรวดเร็ว และคาดหวังเม็ดเงินที่จะได้กลับคืนมาจากเงินลงทุน
ไปมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น เราต้องทำกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจกับลูกค้าว่านี่เป็นการอิมพลีเมนต์ ระบบ ERP ไม่ใช่การสั่งพิซซ่าที่สั่งแล้ว มาส่งได้ภายในครึ่งชั่วโมง เราต้องสร้างความเข้าใจในตัวซอฟท์แวร์ให้กับลูกค้า เทคโนโลยีของ
ตัวซอฟท์แวร์ วิธีการในการอิมพลีเมนต์ ระยะเวลาที่ต้องการ อาจจะเป็น 6 เดือน 9 เดือน หรือ 1 ปี ขึ้นอยู่กับความยากง่าย ความซับซ้อนของกระบวนการธุรกิจ แต่ต้องแสดงให้ลูกค้าเห็นถึงความพร้อม ความสามารถที่จะช่วยลูกค้าให้ถึงฝั่งฝัน โดยยึด
ความต้องการของลูกค้าเป็นที่ตั้ง ถ้าร่วมมือร่วมใจกัน ตัวซอฟท์แวร์ น่าจะสามารถให้สิ่งที่ตัวลูกค้าต้องการได้ไม่ยากนัก

คุณโสภณ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในการอิมพลีเมนต์ส่วนที่สำคัญ ๆ ประกอบไปด้วย 3P ซึ่งคือ คน (People) กระบวนการ (Process) และตัวซอฟท์แวร์ (Product)

คน (People)
     อันนี้ไม่ได้หมายถึงคนที่มีส่วนในการอิมพลีเมนต์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงคนที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม เมื่อมีการ
อิมพลีเมนต์ซอฟท์แวร์ ERP ตัวใหม่ ยกตัวอย่างเช่น พนักงานขาย ไม่ได้เป็นคนใส่ข้อมูลการขายโดยตรงไม่ได้ร่วมอิมพลีเมนต์ แต่สามารถรู้ข้อมูล ปริมาณสินค้า การขาย การส่งของ ยอดเครดิตของลูกค้าที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา (ถ้ามีการ Key ข้อมูลเข้า
ระบบไว้) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้กระทบวิถีชีวิตของการปฏิบัติงาน ถ้าพนักงานขายบางคนไม่กล้าที่จะใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อดูข้อมูล
ที่มีค่าเหล่านี้ ลองคิดดูว่าโอกาสในการดำเนินธุรกิจของบรษัทจะเป็นอย่างไร ความท้าทายเหล่านี้ต้องถูกจัดการจะทำอย่างไร
ให้ทุกคนสามารถยอมรับได้ระดับหนึ่งสำหรับการเปลี่ยนแปลง การจัดระเบียบ การจัดการองค์กร และทักษะการจัดการโครงการ สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยในการลดระดับความเสี่ยง และช่วยในการจัดการความซับซ้อนของกระบวนการต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

กระบวนการ (Process)
     ต้องมีการกำหนดกรณีศึกษาของธุรกิจ โดยเน้นไปในส่วนของกระบวนการที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในระยะเวลาที่สั้นที่สุด แต่ที่จะให้การอิมพลีเมนต์ทำให้รวดเร็วและตอบแทนเม็ดเงินที่ได้ลงทุนกลับคืน มาอย่างรวดเร็ว กลยุทธ์ที่นำมาใช้ก็คือการปรับ
กระบวนการทำธุรกิจของเราให้เข้ากับ best practice ของตัวซอฟท์แวร์ ซึ่งการทำกลยุทธ์แบบนี้ ต้องการอิมพลีเมนเตอร์ ที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจในธุรกิจของบริษัทเป็นอย่างดี

ซอฟท์แวร์ (Product)
     อันนี้ไม่ได้หมายถึงแต่ตัวซอฟท์แวร์เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงทีมงานที่ทำการอิมพลีเมนต์ ต้องเข้าใจตัวซอฟท์แวร์ รู้ถึงความสามารถของซอฟท์แวร์ จุดดี จุดเด่น จุดด้อย สามารถที่จะเชื่อมโยง เชื่อมต่อ หรือทำให้ซอฟท์แวร์ ERP สามารถที่
จะแลกเปลี่ยนหรือให้สามารถพูดคุยกับแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่แล้ว (Legacy System) ของลูกค้า อิมพลีเมนเตอร์ต้องรู้ว่า
ทำอย่างไรที่ซอฟท์แวร์สามารถที่จะให้สิ่งที่ดีที่ สุดกับบริษัทไม่ว่าในแง่ของ ROI (Return On Investment) หรือ short
payback period

     สิ่งที่น่าสนใจที่เป็น key success factor ก็คือเรื่องของการที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร แต่ไม่ได้หมายความว่า
ผู้บริหารสนับสนุน เพราะว่าเป็นคนตัดสินใจเลือกซอฟท์แวร์เอง และถ้าให้ดี ทีมงานการคัดเลือกควรจะเป็นทีมงานเดียวกับ
ทีมงานการ Implement ด้วย หากทีมงานImplement ได้รับรู้รับทราบ และยอมรับในการเปลี่ยนแปลงซอฟท์แวร์มาโดยตลอด และมีส่วนร่วมในการคัดเลือกนั้นด้วย นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดการต่อต้านแล้วกลับจะได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่ใน ขั้นตอนการ Implement

แนวคิด ERP ของ ASIA

ผู้ผลิต ERP ทั่วโลกจะต้องปรับแนวคิดในการมอง Asia ?, กลยุทธ์ที่รองรับขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป? โอกาสหรือภัยคุกคามของ ERP ไทย

อ่านต่อ »

ติดปีกธุรกิจ Forma/Formula ERP

การลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศ ถือเป็นการลงทุนแบบเชิงกลยุทธ์อย่างหนึ่งเพื่อสร้างการขับเคลื่อนให้เกิดข้อ ได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งในบางครั้งมีความจำเป็นที่จะ

อ่านต่อ »

ERP คือ

การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) เป็นการนำระบบงานทุกอย่างในองค์กรมาทำการเชื่อมโยงเข้าด้วยกันและมีการนำข้อมูลจากทุกแผนกงานต่าง ๆ นั้นนำมาใช้ร่วมกันเพื่อให้การดำเนินงานฯ

อ่านต่อ »

วางแผนเพื่อ ERP Implementation

การวางแผนเพื่อที่จะอิมพลีเมนต์ให้ประสบความสำเร็จ มีอยู่ 2 ส่วน คือ
ส่วนแรก : การจัดการกับการเปลี่ยนแปลง
ส่วนที่สอง : โครงสร้างของการอิมพลีเมนต์เอง

อ่านต่อ »